ข้อเสียของการทำประกันที่ไม่ครอบคลุม

ข้อเสียของการทำประกันที่ไม่ครอบคลุม

หากจะต้องวางแฝนการทำประกันสักฉบับหนึ่งแล้วนั้น…หลายๆ ท่านจะต้องคำนึงถึงหลายสิ่ง หลาอย่างรวมไปถึงปัจจัยในการที่จะเลือกแผนประกันที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงอยากมาแชร์ “ข้อเสียของการทำประกันที่ไม่ครอบคลุม” กัน พร้อมกับแนะนำการเลือกประกันที่เหมาะสมกับคุณกันครับ

ทำความเข้าใจกับคำว่า ประกันภัย

การประกันภัย (Insurance) คือ ทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้ทำประกันภัยไว้ ด้วยการเฉลี่ยหรือการกระจายความเสียหายไปยังสมาชิกที่ทำประกันภัย โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ทำหน้าที่เก็บเบี้ยประกันและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยทั้งนี้ทั้งนั้น การทำประกันภัย เป็นการตกลงร่วมกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) กับผู้เอาประกันภัย (ลูกค้า) โดยมีการจัดทำข้อตกลงขึ้นในลักษณะของสัญญาประกันภัย หรือเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” ซึ่งคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อกันและกัน ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่คุ้มครองผู้เอาประกันภัย เมื่อเกิดการสูญเสียหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นต้องชดเชยให้กับผู้เอาประกันภัยตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญา ขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยก็มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัย ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เพื่อให้ความคุ้มครองดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนั้นเอง

ซึ่งสรุปง่ายๆ “ประกันภัย” เป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่งซึ่งโอนความเสี่ยงภัยจากผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัย และผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทผู้รับประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ข้อเสียของการทำประกันที่ไม่ครอบคลุมความเสี่ยง

ก่อนที่จะตัดสินใจทำประกันภัยนั้น เราต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงของตนเองเสียก่อน เพราะเราจะได้เลือกแผนประกันภัยที่คุ้มครองเราได้อย่างครบถ้วน ไม่ต้องกังวลในการใช้ชีวิตมากนัก แต่ถ้าหากไม่ได้สำรวจหรือประเมินความเสี่ยงของตนเองแล้วหล่ะก็…อาจทำให้เราเสียเงินค่าเบี้ยประกันที่สูงเกินความจำเป็น หรืออาจไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควรก็เป็นได้ครับ

แล้วประโยชน์ของการทำประกันหล่ะ มีอะไรบ้าง?

เราสามารถแบ่งประโยชน์ของการทำประกันได้ 3 ส่วน อันได้แก่…

ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย

·ให้ความคุ้มครองทำให้เกิดความมั่นใจในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย
·ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เป็นหลักประกันต่อบุคคลและครอบครัวของผู้เอาประกันภัย เช่น กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินชดเชยจำนวนหนึ่ง ทำให้ไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น

ช่วยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายนั้นจากผู้รับประกันภัย

ประโยชน์ต่อธุรกิจ

ก่อให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าจะเกิดกับทรัพย์สินหรือชีวิตของเจ้าของกิจการ
·ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กย่อมดำเนินอยู่บนความเสี่ยง หากมีการกระจายความเสี่ยงไปให้ผู้รับประกันภัยช่วยรับภาระแทน ก็จะทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น
·ช่วยในการขยายเครดิตให้กับผู้กู้เงิน เป็นหลักประกันช่วยให้การกู้ยืมเงินดำเนินไปได้อย่างสะดวก เพราะการประกันภัยช่วยลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้จากหนี้สูญ เช่น ธนาคารจะกำหนดให้ ผู้กู้จะต้องทำประกันชีวิตเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องการกู้ หากผู้กู้เสียชีวิตไป ธนาคารก็จะสามารถเรียกเงินกู้ส่วนที่เหลือคืนได้ เพราะมีหลักประกันว่าจะได้รับชดใช้คืน

ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

ช่วยแบ่งเบาภาระของสังคมและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสงเคราะห์จากภาครัฐ ทำให้สังคมมีหลักประกันความปลอดภัย มีความมั่นใจว่าเมื่อเกิดอุบัติภัยและความเสียหายขึ้นผู้ประสบภัยจะได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน เช่น หากบ้านผู้เอาประกันภัยเกิดไฟไหม้ทำให้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยก็สามารถนำมาสร้างบ้านใหม่และใช้ในการดำรงชีพต่อไป ไม่ต้องเป็นภาระสังคมในการให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ข้อเสียของการทำประกันที่ไม่ครอบคลุม” พร้อมกับประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่ผู้ทำประกันจะได้รับและช่วยเหลือคนรอบข้าง หวังว่าจะเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ